วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

post modern lism



Post_Modern (ยุคนวนิยมหรือยุคหลังสมัยใหม่)
แนวคิดหลังยุคหลังสมัยใหม่
                อาจจะใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ เป็นมุมมองที่แตกต่างออกไปจากความคิดเดิม ๆ ของโลก อย่างเช่น แนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎิสายวิพากษ์

ที่มาของคำว่าหลังสมัยใหม่

               ยุคหลังสมัยใหม่นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านได้พูดถึงไว้ในงานต่าง ๆตามความเชี่ยวชาญของแต่ละท่าน  แต่ที่บัญญัติได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสนามว่า ฌัง ฟรังซัวร์ ไลโอตารด์ (Jean Francois Lyotard)
ที่มาของของคำ ๆนี้นั้นมาจากหนังสือของเขาเองที่ชื่อว่า The Postmodern Condition : A Report on Knowledge ซึ่งไลโอตาร์ด
กล่าวว่า แนวทางแบบหลังสมัยใหม่นั้นหากจะบอกเวลาที่แน่ชัดที่สุดในการกำเนิดจะอยู่ในช่วงราวทศวรรษที่ 1950 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยุโรปเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิดในเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องของมนุษย์ สังคม วัฒนธรรม ไลโอตาร์ดเรียกร้องให้มนุษย์ปฎิเสธในเรื่องทฤษฎีต่าง ๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมของตะวันตก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการหาความรู้พื้นฐานของปรัชญาซึ่งเริ่มต้นด้วยการขุดเซาะทฤษฎีต่าง ๆที่อ้างตนว่าสามารถอธิบายความจริงได้ ไลโอตาร์ดจึงอธิบายสิ่งที่เขาเรียกว่าหลังสมัยใหม่ไว้ว่า

ข้าพเจ้านิยามหลังสมัยใหม่ในฐานะความไม่เชื่อถือในเรื่องเล่าหลัก ความไม่เชื่อถือนี้มิได้เป็นผลจากพัฒนาการของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าเป็นสิ่งที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น ความล้าสมัยของการทำให้เรื่องเล่าหลักมีความชอบธรรม, เป็นที่ยอมรับ คือความล้มเหลวของหลักอภิปรัชญา และขนบของการศึกษาในมหาวิทยาลัย เรื่องเล่าอื่นๆได้สูญเสียหน้าที่ของมันไปหมด... ...อะไรคือหลังสมัยใหม่?... ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกสงสัยเลยว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะสมัยใหม่ หากสิ่งใดจะเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องเริ่มต้นจากการเป็นสิ่งหลังสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ไม่สามารถถูกเข้าใจว่าเป็นจุดจบของแนวคิดสมัยใหม่ แต่คือจุดเริ่มต้น และจุดที่ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ... หลังสมัยใหม่จะทำให้สิ่งที่ภาวะสมัยใหม่ไม่นำเสนอมีที่ทางที่จะเสนอตัวเอง ”

ฌัง ฟรังซัวร์ ไลโอตารด์ (Jean Francois Lyotard)


ข้อมูลจาก

อิทธิพลที่มีต่อศิลปะและสุนทรียภาพในยุคหลังสมัยใหม่

  • ลักษณะศิลปะยุคหลังสมัยใหม่
                   การปฎิเสธศูนย์กลาง ก็คือ การปฎิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางด้านเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง และการปฎิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์อาจเป็นหลายเรื่องซ้อนเร้นกัน

                   ศิลปะยุดหลังสมัยใหม่โดยรวมแล้วจะคัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม และแนวคิดนี้จะต่อต้านจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์แต่จะโหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง


 Post-Modern Western Art

ข้อมูลจาก
                    

  • ดนตรีในยุคหลังสมัยใหม่
                   ดนตรีในยุคหลังสมัยใหม่เป็นดนตรีที่มีคุณค่าด้านสุนทรียภาพ ผสมกับปรัชญาตามแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้ดนตรีในยุคนี้จะต่อต้านกับดนตรียุคสมัยใหม่ กล่าวง่าย ๆคือดนตรีจะต่อต้านด้านโครงสร้างและรูปแบบในการทำเพลงที่มีมาทั้งหมด แต่จะเน้นไปที่อารมณ์ ความรู้สึก การสัมผัส และถ่ายทอดมันออกมาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนั่นเอง อย่างเช่นแนวดนตรีที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้

Post-Rock Music

                ดนตรีแนวโพส-ร็อค มีต้นกำเนิดจากแนว Alternative Rock และ Progessive Rock ลักษณะของดนตรีแนวนี้จะคล้ายกับดนตรีร็อค แต่จังหวะและการเรียบเรียงเพลงนั้นจะต่อต้านกับดนตรีร็อคอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ใช้นักร้องนำ แต่จะใช้เครื่องดนตรี อย่างเช่น กีต้าร์ในการบรรเลงแทน

                 Don Caballero and Tortoise เป็นวงดนตรีวงแรก ๆที่มีการสร้างสรรค์แนวดนตรี โพส-ร็อค ขึ้นมา ในช่วงปีค.ศ.1990 จึงมีการบัญญัติแนวดนตรีนี้ขึ้นและทำให้เกิดวง โพส-ร็อค รุ่นใหม่ตามมา อย่างเช่น

 Explosions In The Sky









สรุปแล้ว ดนตรี Post-Rock เป็นการเปิดกว้างทางดนตรีและสไตล์ของแต่ละวงในการสร้างสรรค์ตัวเพลงออกมาอย่างกว้างๆ และมีการนำปรัชญายุคหลังสมัยใหม่ที่มีความเปิดกว้างมาใช้เป็นชื่อเพลงให้ได้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

                                                                                                                 http://en.wikipedia.org/wiki/Post-rock

  • สังคมในยุคหลังสมัยใหม่
สังคมหลังยุคสมัยใหม่
ยุคหลังสมัยใหม่กำลังก้าวเข้ามาแทนที่ยุคสมัยใหม่อย่างท้าทาย ด้วยนัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม อาทิ จันทนี เจริญศรี กล่าวไว้ (2544 : 1)

- ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism)
ความเป็นยุคทุนนิยมตอนปลาย (late capitalism) ( Bell, 1976)

- ลักษณะการผลิตเป็นแบบหลังอุตสาหกรรม (post-industrial) ความเป็นสังคมข่าวสาร สังคมที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง
(simulation) (Bogard ,1992)

- ลักษณะล้ำความจริง (hyperreality) การยุบตัว (implosion) รวมถึงรูปแบบใหม่ทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม เป็นยุคที่สื่ออีเลคโทนิคส์ซึ่งสามารถตัดข้ามผ่านพื้นที่ทางกายภาพจะเข้ามาแทนที่ "ชุมชน" อันจะทำให้แนวคิดเรื่องสังคมจะกลายเป็นเพียงภาพลวงตา (Bogard ,1992)


                                                                                                           

ข้อมูลจาก

        ปล่อยวางเท่านั้นที่จะสามารถอยู่ควบคู่กับโลกในยุคนี้ได้
                                                                                                  โดย Blues Man






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น