วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ศิลปตะวันตกที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน






วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
     การติดต่อกับชาวต่างชาติของคนไทยในยุคสมัยต่าง ๆ มีผลต่อสังคมไทยหลายด้าน วัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตกได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย โดยวัฒนธรรมบางอย่างได้ถูกปรับใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตและประเพณีดั้งเดิม ของคนไทย ขณะที่วัฒนธรรมบางอย่างรับมาใช้โดยตรง
1. วัฒนธรรมตะวันออกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
     อิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกต่อสังคมไทยมีมาตั้งแต่ก่อนการตั้งอาณาจักรของคน ไทย เช่น สุโขทัย ล้านนา ซึ่งมีทั้งวัฒนธรรมที่รับจากอินเดีย จีน เปอร์เซีย เพื่อนบ้าน เช่น เขมร มอญ พม่า โดยผ่านการติดต่อค้าขาย การรับราชการของชาวต่างชาติ การทูต และการทำสงคราม
สำหรับตัวอย่างอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันออกที่มีต่อสังคมไทยมีดังนี้
     1. ด้านอักษรศาสตร์ เช่น ภาษาไทยที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นในสมัยสุโขทัยได้รับอิทธิพลจากภาษาขอม รับภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตจากหลายทางทั้งผ่านพระพุทธศาสนา ผ่านศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากอินเดีย เขมร นอกจากนี้ ในปัจจุบันภาษาจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ก็ได้มีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น
     2. ด้านกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมาย มีการรับรากฐานกฎหมายอินเดีย ได้แก่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยรับผ่านมาจากหัวเมืองมอญอีกต่อหนึ่ง และกลายเป็นหลักของกฎหมายไทยสมัยอยุธยาและใช้มาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
     3. ด้านศาสนา พระพุทธศาสนาเผยแผ่อยู่ในผืนแผ่นดินไทยมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ดังจะเห็นได้จากแว่นแคว้นโบราณ เช่น ทวารวดี หริภุญชัยได้นับถือพระพุทธศาสนา หรือสุโขทัย รับพระพุทธศาสนาจากนครศรีธรรมราชและได้ถ่ายทอดให้แก่อาณาจักรอื่น ๆ ซึ่งมีผลต่อการดำเนินชีวิตและการสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมของคนไทยตลอดมา นอกจากนี้ คนไทยยังได้รับอิทธิพลในการนับถือศาสนาอิสลามที่พ่อค้าชาวมุสลิมนำมาเผยแผ่ รวมทั้งคริสต์ศาสนาที่คณะมิชชันนารีนำเข้ามาเผยแผ่ในเมืองไทยนับตั้งแต่สมัย อยุธยาเป็นต้นมา
     4. ด้านวรรณกรรม ในสมัยอยุธยาได้รับวรรณกรรมเรื่องรามเกรียรติ์ มาจากเรื่องรามายณะของอินเดีย เรื่องอิเหนาจากชวา ในสมัยรัตนโกสินทร์ได้มีการแปลวรรณกรรมจีน เช่น สามก๊ก ไซอิ๋ว วรรณกรรมของชาติอื่น ๆ เช่น ราชาธิราชของชาวมอญ อาหรับราตรีของเปอร์เซีย เป็นต้น
     5. ด้านศิลปวิทยาการ เช่น เชื่อกันว่าชาวสุโขทัยได้รับวิธีการทำเครื่องสังคโลกมาจากช่างชาวจีน รวมทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมเนื่องในพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศรีลังกา
     6. ด้วยวิถีการดำเนินชีวิต เช่น คนไทยสมัยก่อนนิยมกินหมากพลู รับวิธีการปรุงอาหารที่ใส่เครื่องแกง เครื่องเทศจากอินเดีย รับวิธีการปรุงอาหารแบบผัด การใช้กะทะ การใช้น้ำมันจากจีน ในด้านการแต่งกาย คนไทยสมัยก่อนนุ่งโจงกระเบนแบบชาวอินเดีย เป็นต้น


2. วัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย
     ไทยได้รับวัฒนธรรมตะวันตกหลายด้านมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ในระยะแรกเป็นความก้าวหน้าด้านการทหาร สถาปัตยกรรม ศิลปวิทยาการ ในสมัยรัตนโกสินทร์ตั้งแต่รัชกาลที่ 3 เป็นต้นมา คนไทยรับวัฒนธรรมตะวันตกมากขึ้น ทำให้มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีของคนไทยมาจนถึงปัจจุบัน
ดัวอย่างวัฒนธรรมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทยที่สำคัญมีดังนี้
     1. ด้านการทหาร เป็นวัฒนธรรมตะวันตกแรก ๆ ที่คนไทยรับมาตั้งแต่อยุธยา โดยซื้ออาวุธปืนมาใช้ มีการสร้างป้อมปราการตามแบบตะวันตก เช่น ป้อมวิไชยประสิทธิ์ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ออกแบบโดยวิศวกรชาวฝรั่งเศส ในสมัยรัตนโกสินทร์มีการจ้างชาวอังกฤษเข้ามารับราชการเพื่อทำหน้าที่ให้คำ ปรึกษาด้านการทหาร มีการตั้งโรงเรียนนายร้อย การฝึกหัดทหารแบบตะวันตก
    2. ด้ารการศึกษา ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีชนชั้นนำจำนวนหนึ่ง เช่น พระอนุชาและขุนนางได้เรียนภาษาอังกฤษและวิทยาการตะวันตก ในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงจ้างครูต่างชาติมาสอนภาษาอังกฤษและความรู้แบบตะวันตกในราชสำนัก
    ในสมัยรัชการลที่ 5 มีการตั้งโรงเรียนแผนใหม่ ตั้งกระทรวงธรรมการขึ้นมาจัดการศึกษาแบบใหม่ ทรงส่งพระราชโอรสและนักเรียนไทยไปศึกษาที่ประเทศต่าง ๆ เช่น โรงเรียนแพทย์ โรงเรียนกฎหมาย ในสมัยรัชกาลที่ 6 มีพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับและการตั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
     3. ด้านวิทยาการ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ความรู้ทางดาราศาสตร์จนสามารถ คำนวณการเกิดสุริยุปราคาได้อย่างถูกต้อง ความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่ ซึ่งเริ่มในสม้ยรัชกาลที่ 3 ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการจัดตั้งโรงพยาบาล โรงเรียนฝึกหัดแพทย์และพยาบาล ความรู้ทางการแพทย์แบบตะวันตกนี้ได้เป็นพื้นฐานทางการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปัจจุบัน
    4. ด้านการพิมพ์ เริ่มจากการพิมพ์หนังสือพิมพ์รายปักษ์ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2387 ชื่อ "บางกอกรีคอร์เดอร์" การพิมพ์หนังสือทำให้ความรู้ต่าง ๆ แพร่หลายมากขึ้น ในด้านการสื่อสารคมนาคม เช่น การสร้างถนน สะพาน โทรทัศน์ โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป รถยนต์ รถไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกสบายให้แก่คนไทยเป็นอย่างมาก
     5. ด้านแนวคิดแบบตะวันตก การศึกษาแบบตะวันตกทำให้แนวคิดทางการปกครอง เช่น ประชาธิปไตย คอมมิวนิสต์ สาธารณรัฐแพร่เข้ามาในไทย และมีความต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นอกจากนี้ วรรณกรรมตะวันตกจำนวนมากก็ได้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการประพันธ์ จากร้อยกรองเป็นร้อยแก้ว และการสร้างแนวคิดใหม่ ๆ ในสังคมไทย เช่น การเข้าใจวรรณกรรมรูปแบบนวนิยาย เช่น งานเขียนของดอกไม้สด ศรีบูรพา
    6. ด้านวิถีการดำเนินชีวิต การรับวัฒนธรรมตะวันตกและสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ มาใช้ ทำให้วิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยแบบเดิมเปลี่ยนแปลงไป เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหารแทนการใช้มือ การนั่งเก้าอี้แทนการนั่งพื้น การใช้เครื่องแต่งกายแบบตะวันตกหรือปรับจากตะวันตก การปลูกสร้างพระราชวัง อาคารบ้านเรือนแบบตะวันตก ตลอดจนนำกีฬาของชาวตะวันตก เช่น ฟุตบอล กอล์ฟ เข้ามาเผยแพร่ เป็นต้น

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย

     วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่มั่นคงที่หรือใช้เฉพาะในสังคมหนึ่งเท่านั้น ในปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการขนส่งคมนาคม ทำให้การเผยแพร่่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่วัฒนธรรมกระทำได้รวดเร็วยิ่งขึ้นกระบวนการนี้เรียกว่า การเผยแพร่หรือการกระจายทางวัฒนธรรม(Cultural Diffusion)หลังการปฏิวััติอุตสาหกรรมในยุโรป ทำให้ชนชาติเหล่านั้นแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปเอเชียด้วยแล้ว สังคมไทยก็ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มชาวยุโรป โดยเฉพาะอังกฤษ ฝรั่งเศส และอิทธิพลของวัฒนธรรม ตะวันตกก็ยังคงต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ด้วยสาเหตุต่อไปนี้
     1. ความเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง ทำให้การเดินทางสะดวก การเผยแพร่วัฒนธรรมจะเร็วขึ้น
การเจริญทางด้านการคมนาคมขนส่ง
     2. อิทธิพลตจากสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ โทรทัศน์ หนังสือ และสิ่งตีพิมพ์อื่น ๆ
     3. การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง คือ ประเทศต่าง ๆ ส่งคนเข้่ามาเผยแพร่ หรือจากการออกไปศึกษา
เล่าเรียน เมื่อกลับมาแล้วก็นำวัฒนธรรมนั้นมาเผยแพร่


อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคม แยกเป็นด้านต่าง ๆ นี้
1. ทางการศึกษา วัฒนธรรมขอมอินเดีย เข้ามามีอิทธิพลในสมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา
- ภาษาตะวันตก เริ่มเข้าสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อร้อยเอกเจมส์ โลว์ ชาวอังกฤษคิดตัวพิมพ์ภาษาไทยได้สำเร็จ
- รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการปฎิรูปการศึกษาและสังคม มีการตั้งกระทรวงธรรมการ เริ่มมีการจัดการศึกษาแบบตะวันตกตั้งแต่นั้นมา
- ปัจจุบันระบบการศึกษาของไทยยึดหลักแนวทางจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทั้งด้านปรัชญาการศึกษา เนื้อหา และกระบวนการเรียนการสอน ส่วนวิทยาการสมัยใหม่ ในวงการศึกษาของไทยรับมาจาก ตะวันตกเป็นส่วนใหญ่
2. ทางการเมือง
- สมัยสุโขทัยการปกครองเป็นแบบพ่อปกครองลูก
- สมัยกรุงศรีอยุธยา รับอิทธิพลจากขอมและอินเดีย เป็นแบบลัทธิเทวราช กษัตริย์ เป็นสมมติเทพ (ข้ากับเจ้า บ่าวกับนาย)
- สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยรัชกาลที่ 5 เริ่มมีสภาที่ปรึกษา นับเป็นการเริ่มเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 จึงเป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากประเทศในยุโรป
3. ทางเศรษฐกิจ ระบบเศรษฐกิจเป็นแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม ได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากที่สุด
4. ทางสังคมและวัฒนธรรม อิทธิพลจากต่างชาติทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนแปลงไป ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจมีความอบอุ่นน้อยลง มีการชิงดีชิงเด่น ความสัมพันธ์เปลี่ยนเป็นแบบทุติยภูมิ

วัฒนธรรมอินเดียที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
     1. การเมืองการปกครอง กษัตริย์เป็นเทวราชตามศาสนาพราหมณ์ เกิดระบบเจ้าขุนมูลนาย ส่วนประมวล
กฎหมายพระมนูธรรมศาสตร์ของอินเดียนั้น เป็นที่มาของกฎหมายตราสามดวงในประเทศไทยและกฎมณเฑียรบาล
      2. ศาสนา ศาสนาพราหมณ์และพระพุทธศาสนาทำให้เกิดประเพณีต่าง ๆ มากมาย เช่น พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ โกนจุก หลักทศพิธราชธรรม
      3. ภาษาและวรรณกรรม รับภาษาบาลีและสันสกฤต เพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามทางภาษา แต่ไม่ได้ใช้พูด ไม่มีอิทธิพลเหมือนภาษาตะวันตก วรรณกรรมคือมหากาพย์รามายณะ มหาภารตยุทธ และพระไตรปิฎก
      4. ศิลปกรรม ส่วนใหญ่เกี่ยวกับศาสนา ได้แก่ การสร้างสถูป เจดีย์ วิหาร พระพุทธรูป จิตรกรรมฝาผนัง ท่าร่ายรำต่าง ๆ

วัฒนธรรมจีนที่มีอธิพลต่อวัฒนธรรมไทย 
      จีนเข้ามาสมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาโดยเข้ามาค้าขาย ในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เข้ามาทำมาหากิน ทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมไทยกับจีน จนกลายเป็นวัฒนธรรมไทย อิทธิพลวัฒนธรรมจีนต่อวัฒนธรรมไทยได้แก่
      1. ความเชื่อทางศาสนา เป็นการผสมผสาน การบูชาบรรพบุรุษ การนับถือเจ้า ส่วนการไหว้พระจันทร์ เทศกาลกินเจ ชาวไทยเชื้อสายจีนรุ่นใหม่ยอมรับวัฒนธรรมเดิมของจีนน้อยลงทุกที
      2. ด้านศิลปกรรม เครื่องชามสังคโลกเข้ามาในสมัยสุโขทัย
      3. ด้านวรรณกรรม การแปลวรรณกรรมจีนเป็นภาษาไทย เริ่มขึ้นในสมัยรัชกาลที่1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้แก่ สามก๊กอำนวยการแปลโดย เจ้าพระยาคลัง (หน) กลายเป็นเพชรน้ำงามแห่งวรรณคดีไทย
      4. วัฒนธรรมอื่น ๆ มีอาหารจีน และ "ขนมจันอับ" ที่กลายเป็นขนมที่มีบทบาทในวัฒนธรรมไทย ใช้ในพิธี ก๋วยเตี๋ยวก็กลายมาเป็นอาหารหลักของไทย นอกจากนี้ยังมีข้าวต้มกุ๊ย ผัดซีอิ๊ว และซาลาเปา เป็นต้น





วัฒนธรรมชาตินิยมตะวันตกที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมไทย
       โปรตุเกส เป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นำวัฒนธรรมการทำปืนไฟ การสร้างป้อมต่อต้านปืนไฟ ยุทธวิธีทางการทหาร การทำขี้ผึ้งรักษาแผล การทำขนมฝอยทอง ขนมฝรั่ง เป็นทหารอาสาสมัยพระชัยราชาธิราช รบกับพม่า 120 คน
       ฮอลันดาเข้ามาสมัยในสมัยพระนเรศรวรมหาราช อาคารที่ฮอลันดาสร้าง ไทยเรียกว่า "ตึกวิลันดา" นำอาวุธปืนมาขาย รวมทั้งเครื่องแก้ว กล้องยาสูบ เครื่องเพชรเครื่องพลอย ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชก็ทรงพอพระทัยแว่นตา และกล้องส่องทางไกลจากฮอลันดา
       อังกฤษ เข้ามาในราชสำนักสมัยพระเอกาทศรถ มุ่งทางด้านการค้า แต่สู้ฮอลันดาไม่ได้ เช่น ยอร์ช ไวท์ มีต่ำแหน่งเป็นออกหลวงวิชิตสาคร ส่วน แซมมวล ไวท์ ได้เป็นนายท่าเมืองมะริด
       ฝรั่งเศส เข้ามาสมัยพระนารายณ์มหาราช เพื่อเผยแผ่ศาสนาคริสต์ คณะบาทหลวงได้นำความรู้ด้านการแพทย์ การศึกษา การทหาร ดาราศาสตร์ การวางท่อประปา การสร้างหอดูดาวที่ลพบุรีและอื่น ๆ อีกหลายแห่ง
        ในสมัยอยุธยาตอนปลายความสัมพันธ์กับชาติตะวันตกลดลงและหยุดชะงักไปในสมัยพระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกโดยมีการเปิดสัมพันธ์ทางการทูต เพราะตะหนักถึงภยันตรายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นการป้องกันการแทรกแซงภายใน วัฒนธรรมตะวันตกจึงเริ่มผสมผสานจนเป็นที่ยอมรับและเข้ามามีบทบาทในด้านต่าง ๆ ดังนี้
      1. การเมืองการปกครอง รับเอาประเพณี ค่านิยม วัฒนธรรม เข้ามาในประเทศ เพราะมีพระบรมวงศานุวงศ์ไปเรียนต่างประเทศ มีการปฎิรูปการปกครองแบบชาติตะวันตก ตั้งกระทรวง 12 กระทรวง
      2. เศรษฐกิจ ยกเลิกระบบไพร่ เลิกทาส ใช้เงินตราเป็นตัวกลางในการซื้อขาย ตั้งธนาคารแห่งแรก คือ บุคคลัภย์ (Book Club) ต่อมาคือธนาคารไทยพาณิชย์
     3. ด้านสังคม เลิกระบบหมอบคลานมาเป็นแสดงความเคารพให้นั่งเก้าอี้แทน เปลี่ยนแปลงการแต่งกาย จัดการศึกษาเป็นระบบโรงเรียน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464
     4.การศึกษาขยายถึงระดับมหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัตินามสกุล และคำนำหน้าชื่อ นาย นาง นางสาว เด็กหญิง เด็กชาย




      สรุปได้ว่า คนไทยมีวัฒนธรรมที่เป็นของตนเองมาตั้งแต่สุโขทัย ซึ่งแสดงออกถึงความเป็นชาติที่มีความรัก ความสามัคคีและสงบสุข อย่างไรก็ตาม วัฒนธรรมไทยก็เหมือนวัฒนธรรมของชนชาติอื่นที่เป็นวัฒนธรรม
แบบผสมผสาน คือ
    1. มีวัฒนธรรมดังเดิมเป็นของตนเอง
    2. รับเอาวัฒนธรรมอื่นจากภายนอกที่ได้ติดต่อสัมพันธ์กัน มาผสมผสานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม
          วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับสังคม มนุษย์เป็นผู้สร้างวัฒนธรรมขึ้นเพื่อสนองความต้องการ ทางด้านปัจจัยสี่ ในการดำเนินชีวิตเพื่อความอยู่รอดและเป็นวิธีการแห่งการแก้ปัญหาพื้นฐาน ต่างๆของมนุษย์ ที่ทุกคนในสังคมต้องการแก้ไขเพื่อให้มีชีวิตอยู่รอด วัฒนธรรมจึงกลายเป็นกฏเกณฑ์ ข้อบังคับ หรือระเบียบ ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์และเป็นมรดกสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษหนึ่งสู่อีก บรรพบุรุษหนึ่ง นอกจากนี้วัฒนธรรมมีลักษณะไม่อยู่นิ่ง ไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง เลิกร้าง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่ เพราะมนุษย์มีการคิดค้นสิ่งใหม่ๆและปรับปรุงของเดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป
        วัฒนธรรมไทยมีรากฐานมาจากพุทธศาสนา เป็นมรดกอันล้ำค่าของคนไทยทุกคนที่สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของคนไทย ถือเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นชาติไทยที่แตกต่างจากชาติอื่น มีลักษณะเฉพาะที่แสดงชี้ชัดถึงความเป็นไทย เช่น ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกมาทางพิธีกรรม ศิลปะแขนงต่างๆ บุคลิกภาพของคนไทยที่รักสงบ อ่อนน้อมถ่อมตน มีน้ำใจ จนได้รับความชื่นชมจากต่างชาติ ถึงแม้วัฒนธรรมไทยจะมีการผสมผสานกับวัฒนธรรมต่างชาติตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน แต่ก็ได้เลือกสรรเอาสิ่งที่ดีมาใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทย ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นชาติที่มีพระมหากษัตริย์ ศาสนา ศิลปกรรม ภาษา อาหาร การแต่งกาย ฯลฯ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
   วัฒนธรรมโดยมีพื้นฐานจากปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ และอิทธิพลจากภายนอก วัฒนธรรมนอกบางอย่างที่ไทยรับมานั้นได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคม ไทย จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย อย่างไรก็ดี แม้ว่าวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยจะช่วยให้เราเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมและ ภูมิปัญญาไทยและช่วยกันอนุรักษ์และสืบทอดต่อไปในภายหน้า
   1. ความหมายของวัฒนธรรมและภูมิปํญญาไทยและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
       1.1 ความหมายของวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย
       วัฒนธรรมไทย หมายถึง การประพฤติปฏิบัติที่เป็นแบบแผนของสังคม ซึ่งเกิดจากการสร้างสรรค์ของคนไทยที่คิดขึ้นเพื่อการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกัน ในสังคม โดยมีปฏิสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อม และมีรูปแบบเป็นที่ยอมรับกันภายในสังคม วัฒนธรรมไทยมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองในสังคมไทย
      ภูมิปัญญาไทย หมายถึง ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความเชื่อ และพฤติกรรมของคนไทยที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับสิ่งแวดล้อม และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ภูมิปัญญาไทยถือเป็นวิธีการและผลงานที่คนไทยได้ศึกษาเรียนรู้เพื่อความอยู่ รอดของบุคคล ชุมชน เพื่อแก้ไขปัญหาในสังคมไทย เป็นความรู้ที่ผ่านการรวบรวม ปรับปรุง และได้ถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง ภูมิปัญญาไทยจึงเป็นสิงที่มีประโยชน์ มีคุณค่า มีเอกลักษณ์ของตนเอง สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนไทยและนำมาใช้ในการพัฒนาชีวิตและ แก้ไขปัญหาได้ เช่น ความรู้เกี่ยวกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร สมุนไพร ผักพื้นบ้าน รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือทำมาหากิน และการสร้างที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม เป็นต้น
     1.2 ปัจจัยที่ส่งเสริมการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยที่สำคัญมีดังนี้
     1) ปัจจัยทางภูมิศาสตร์ ประเทศไทยมีสภาพภูมิศาสตร์ที่แตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาคและคนในแต่ละ พื้นที่ก็ได้สร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้สอดคล้องกับท้องถิ่นที่ตน อยู่
     2) ปัจจัยทางสังคม สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้
        2.1) ลักษณะร่วมทางสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ การที่สังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำให้คนในสังคมมีวิถีชีวิตความเชื่อบางอย่างเหมือนกัน เช่น ความเชื่อเรื่องการนับถือผู้อาวุโส จึงทำให้เกิดพิธีการรดน้ำขอพร ความเชื่อเรื่องเทวดาอารักษ์ เช่น แม่พระคงคา แม่พระธรณี แม่โพสพ รุกขเทวดา ความเชื่อเรื่องผีสางนางไม้ ผีบ้านผีเรือน ทำให้มีประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพและความเชื่อ เช่น การทำขวัญข้าว การเล่นเพลงเรือ ประเพณีลอยกระทง
        นอกจากนี้ คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาทำให้มีประมีประเพณีทางศาสนาเหมือนกัน แต่อาจมีรายละเอียดแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น เช่น ประเพณีทำบุญในหลายพื้นที่ที่มีความเป็นเอกลักษณ์ของตน เช่น ประเพณีแห่ปราสาทผึ้งและประเพณีไหลเรือไฟของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประเพณีชักพระของภาคใต้ เป็นต้น
        2.2) ลักษณะแตกต่างทางสังคมและวัฒนธรรม สภาพภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติที่ต่างกัน รวมถึงความเคยชินและการปฏิบัติที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา มีผลต่อความแตกต่างในด้านการดำรงชีวิต การสร้างสรรค์วัฒนธรรมและภูมิปัญญา เช่น ภาคกลางและภาคใต้ปลูกข้าวเจ้ามาก ทำให้คนทั้งสองภาคนิยมรับประทานข้าวเจ้า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือปลูกข้าวเหนียวมาก คนทั้งสองภาคนี้จึงนิยมรับประทานข้าวเหนียว และคิดสร้างสรรค์ภาชนะใส่ข้าวเหนียวจากวัสดุธรรมชาติ เรียกว่า "กระติบ" ซึ่งช่วยเก็บกักความร้อนและทำให้ข้าวเหนียวนุ่มอยู่ได้นาน หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีหนองบึงมาก แต่แหล่งน้ำมักแห้งขอดในฤดูแล้ง ชาวบ้านจึงเรียนรู้ที่จะเก็บสะสมอาหารไว้กินตลอดทั้งปี โดยนำปลานานาชนิดมาทำเป็นปลาร้า ส่วนภาคใต้มีอาหารทะเลมากจึงถนอมอาหารด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ตากแห้ง ปลาแดดเดียว ปลาเค็ม หรือนำเคยซึ่งเป็นสัตว์ทะเลชนิดหนึ่งมาทำกะปิ
        นอกจากนี้ การปลูกบ้านเรือนของผู้คนในแต่ละภาคก็มีความแตกต่างกันตามทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ภาคเหนือมีไม้มาก บ้านเรือนจึงปลูกสร้างด้วยไม้ หรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือใช้ไม้ไผ่เป็นส่วนสำคัญในการปลูกบ้าน ดังนั้น จะเห็นได้ว่าความแตกต่างกันทางภูมิศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้แต่ละพื้นที่มีการดำรงชีวิตต่างกั




อ้างอิงจาก
.
http://whitechocolate-juniiz.blogspot.com/p/2.html

modernlism

 หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 เพียงไม่กี่ปี ภาวะเศรษฐกิจได้เติบโตอย่างรวดเร็วและทำให้เมืองใหญ่ ๆ ในยุโรปและอเมริกาเริ่มฟื้นตัวและมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น ผังเมืองเริ่มมีอาคารสำนักงานขนาดใหญ่และห้างสรรพสินค้าเกิดขึ้น รวมถึงรถยนตร์และถนนหนทางต่างๆ แม้แต่ในช่วงก่อนสงครามก็ตาม ศิลปินและปัญญาชนต่างก็รวมกันเพื่อก่อตั้งเป็นกลุ่มศิลปินที่มีแนวคิดก้าวหน้า (Avant-garde groups) และในช่วงนี้เองที่ลัทธิ Modernism ได้เติบโตขึ้นอย่างเต็มที่ ในวงการจิตรกรรม จิตรกรเช่น Wassily Kandinsky Piet Mondrien หรือ Casimir Malevich ได้อธิบายถึงหลักการแรกของศิลปนามธรรม (Abstract Art) ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน แนวคิดในเรื่องพื้นที่ว่างได้ถูกนำไปใช้ในวงการสถาปัตยกรรมและประยุกต์ศิลปแขนงต่างๆ 

กลุ่มนักออกแบบ De Stijl (The Style) ซึ่งรุ่งเรืองในช่วงปี 1917 สมาชิกของกลุ่มเช่นTheo van Doesburg และสถาปนิก Gerrit Rietveld ได้ผสมผสานแนวคิดที่เคร่งครัดของลัทธิเหตุผลนิยม (Rationalism) เข้ากับจิตใจ ซึ่งเป็นแนวคิดทางศิลปที่มีความซับซ้อนมากแนวคิดหนึ่งเลยทีเดียว พื้นที่ว่างและพื้นผิวที่ได้ตัดทอนรูปทรง ที่แสดงให้เห็นในผลงานของนักออกแบบกลุ่ม De Stijl ซึ่งเน้นองค์ประกอบของรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า และนิยมใช้สีสันโดยเฉพาะแม่สีในขั้นที่1 เช่นสีเหลือง สีแดงและสีน้ำเงิน Gerrit Rietveld ได้แสดงความคิดของเขาลงไปในงานออกแบบเก้าอี้ Roodblauwe Stoel (ผลงานในช่วงปี 1918-1924) รวมถึงงานสถาปัตยกรรมของเขาเช่นบ้าน Schroder House ที่สร้างในปี 1924 

หนึ่งในศูนย์กลางทางศิลปที่สำคัญของศิลปินหัวก้าวหน้า (Avant-Garde Art) ในทศวรรษที่ 20 คือกลุ่ม Bauhaus ซึ่งก่อตั้งโดย Walter Gropius ที่เมือง Weimar ในปี 1919 แม้ว่าในตอน เริ่มแรกนั้น จะได้อิทธิพลจากทฤษฎีของกลุ่ม De Stijl แต่ได้ปรับให้เข้ากับการใช้งานจริงและสภาพแท้จริงทางสังคม บรรดาสถาปนิก ช่างฝีมือ จิตรกร ประติมากร และอาจารย์พิเศษจำนวนมากต่างทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดภายในสถาบัน Bauhaus โดยพัฒนาแนวคิดซึ่งก่อให้เกิดโฉมหน้าของ Modernism ในศิลปประยุกต์ทุกแขนง พวกเขาพยายามค้นคว้าหานิยามบทสรุปที่ว่า การมุ่งเน้นประโยชน์ใช้สอยที่นำไปสู่ของการออกแบบ (Functionalist approach to design) ที่จำเป็นต่อมนุษย์ในยุคของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ซึ่งคำว่า “ยุคของเครื่องจักร” (Machine Age) ได้อุบัติขึ้นในยุคนี้เอง

ก้าวที่สำคัญของ Bauhaus คือผลงานเก้าอี้ของ Marcel Breuer ในปี 1925 ที่ออกแบบเฟอร์นิเจอร์สำหรับบ้านพักอาศัยตัวแรกๆ ที่ทำด้วยเหล็กท่อกลม (Tubular steel) และ Ludwig Mies van der Rohe ได้ออกแบบเก้าอี้ตัวแรกที่อาศัยหลักการคานยื่น (Cantilever Chair) 

นับตั้งแต่เฟอร์นิเจอร์เหล็กท่อกลมมีความเหมาะสมต่อการผลิตเฟอร์นิเจอร์อุตสาหกรรมเป็นต้นมา ด้วยผิวสัมผัสที่เย็น รูปลักษณ์ที่ดูสะอาดและแข็งแรงสำหรับมุมมองที่แปลกใหม่ของการผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่เหมาะสมกับยุคสมัย วัสดุชนิดนี้จึงได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วโดยนักออกแบบและสถาปนิก

ในประเทศฝรั่งเศส สถาปนิกนักออกแบบ Le Corbusier หรือ Rene Herbst และ Eileen Gray เป็นนักออกแบบที่สำคัญและมีอิทธิพลอย่างสูงในกลุ่ม Modernism เฟอร์นิเจอร์เหล็กท่อกลมที่มีชื่อเสียงของพวกเขาซึ่งยังคงบุด้วยหนังแม้ในปัจจุบัน และในผลงานของ Pierre Chareau เราจะเห็นการเชื่อมโยงของศิลป Art Deco ซึ่งมีอิทธิพลอยู่ในฝรั่งเศสช่วงนั้น

ประเทศรัสเซียถือเป็นประเทศแรกที่มีการปกครองภายใต้ระบอบสังคมนิยม นับตั้งแต่การปฏิวัติในเดือนตุลาคมปี 1918 และได้กลายเป็นศูนย์กลางของศิลปหัวก้าวหน้า (Avant-Garde Art) กลุ่มศิลปินในกรุงมอสโคว์ต่างแสวงหารูปแบบที่เป็นนามธรรมและนำไปสู่ทิศทางของการออกแบบ ซึ่งถือเป็นหน้าหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่รู้จักกันในชื่อลัทธิ Constructivism และ Suprematism 

สมาชิกหลายๆ คนของกลุ่ม ถูกจัดเป็นพวกสังคมนิยม Communism ในฐานะที่นำเสนอแนวคิดของการผลิตในระบบอุตสาหกรรมเพื่อรองรับสังคมส่วนใหญ่

post modern lism



Post_Modern (ยุคนวนิยมหรือยุคหลังสมัยใหม่)
แนวคิดหลังยุคหลังสมัยใหม่
                อาจจะใช้คำว่าหลังสมัยใหม่ หรือแนวคิดหลังสมัยใหม่ เป็นแนวคิดทางการเมือง ปรัชญา วัฒนธรรม สังคม ดนตรี และอื่น ๆ เป็นมุมมองที่แตกต่างออกไปจากความคิดเดิม ๆ ของโลก อย่างเช่น แนวคิดลัทธิก่อนสมัยใหม่ หรือแนวคิดลัทธิสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ถูกจัดเข้ารวมกับทฤษฎิสายวิพากษ์

ที่มาของคำว่าหลังสมัยใหม่

               ยุคหลังสมัยใหม่นั้นได้มีนักวิชาการหลายท่านได้พูดถึงไว้ในงานต่าง ๆตามความเชี่ยวชาญของแต่ละท่าน  แต่ที่บัญญัติได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากที่สุดก็คือนักปรัชญาชาวฝรั่งเศสนามว่า ฌัง ฟรังซัวร์ ไลโอตารด์ (Jean Francois Lyotard)
ที่มาของของคำ ๆนี้นั้นมาจากหนังสือของเขาเองที่ชื่อว่า The Postmodern Condition : A Report on Knowledge ซึ่งไลโอตาร์ด
กล่าวว่า แนวทางแบบหลังสมัยใหม่นั้นหากจะบอกเวลาที่แน่ชัดที่สุดในการกำเนิดจะอยู่ในช่วงราวทศวรรษที่ 1950 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยุโรปเริ่มปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางความคิดในเรื่องต่างๆ ทั้งในเรื่องของมนุษย์ สังคม วัฒนธรรม ไลโอตาร์ดเรียกร้องให้มนุษย์ปฎิเสธในเรื่องทฤษฎีต่าง ๆที่อ้างความเป็นสากลของวัฒนธรรมของตะวันตก ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการหาความรู้พื้นฐานของปรัชญาซึ่งเริ่มต้นด้วยการขุดเซาะทฤษฎีต่าง ๆที่อ้างตนว่าสามารถอธิบายความจริงได้ ไลโอตาร์ดจึงอธิบายสิ่งที่เขาเรียกว่าหลังสมัยใหม่ไว้ว่า

ข้าพเจ้านิยามหลังสมัยใหม่ในฐานะความไม่เชื่อถือในเรื่องเล่าหลัก ความไม่เชื่อถือนี้มิได้เป็นผลจากพัฒนาการของการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์ แต่ทว่าเป็นสิ่งที่คาดได้ว่าจะเกิดขึ้น ความล้าสมัยของการทำให้เรื่องเล่าหลักมีความชอบธรรม, เป็นที่ยอมรับ คือความล้มเหลวของหลักอภิปรัชญา และขนบของการศึกษาในมหาวิทยาลัย เรื่องเล่าอื่นๆได้สูญเสียหน้าที่ของมันไปหมด... ...อะไรคือหลังสมัยใหม่?... ข้าพเจ้าไม่ได้รู้สึกสงสัยเลยว่ามันก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะสมัยใหม่ หากสิ่งใดจะเป็นสิ่งใหม่ก็ต้องเริ่มต้นจากการเป็นสิ่งหลังสมัยใหม่ แนวคิดหลังสมัยใหม่ไม่สามารถถูกเข้าใจว่าเป็นจุดจบของแนวคิดสมัยใหม่ แต่คือจุดเริ่มต้น และจุดที่ยังเกิดขึ้นอยู่เสมอ... หลังสมัยใหม่จะทำให้สิ่งที่ภาวะสมัยใหม่ไม่นำเสนอมีที่ทางที่จะเสนอตัวเอง ”

ฌัง ฟรังซัวร์ ไลโอตารด์ (Jean Francois Lyotard)


ข้อมูลจาก

อิทธิพลที่มีต่อศิลปะและสุนทรียภาพในยุคหลังสมัยใหม่

  • ลักษณะศิลปะยุคหลังสมัยใหม่
                   การปฎิเสธศูนย์กลาง ก็คือ การปฎิเสธอำนาจครอบงำ เน้นชายขอบซอกมุม เพื่อปลดเปลื้องการครอบงำทางด้านเวลา เทศะและอัตลักษณ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ดังปรากฏในสถาปัตยกรรมจำนวนมากที่เลิกเน้นศูนย์กลาง และการปฎิเสธความเป็นเอกภาพ หรือ องค์รวม ภาพเขียนหรือสถาปัตยกรรมจึงไม่จำเป็นต้องจบสมบูรณ์อาจเป็นหลายเรื่องซ้อนเร้นกัน

                   ศิลปะยุดหลังสมัยใหม่โดยรวมแล้วจะคัดค้านโครงสร้าง ระเบียบ ลำดับ ไม่ยึดติดกับโครงสร้างเพราะถือได้ว่าเป็นแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม และแนวคิดนี้จะต่อต้านจุดเริ่มต้นทางประวัติศาสตร์แต่จะโหยหาอดีต เนื่องจากความไม่มั่นคงทางอัตลักษณ์ อดีตของพวกเขาไม่ใช่ประวัติศาสตร์ แต่เป็นการทำลายประวัติศาสตร์เพราะมันถูกนำมาอยู่ในปัจจุบันหรือหลุดไปจากบริบทอย่างสิ้นเชิง


 Post-Modern Western Art

ข้อมูลจาก
                    

  • ดนตรีในยุคหลังสมัยใหม่
                   ดนตรีในยุคหลังสมัยใหม่เป็นดนตรีที่มีคุณค่าด้านสุนทรียภาพ ผสมกับปรัชญาตามแนวคิดยุคหลังสมัยใหม่ ด้วยเหตุนี้ดนตรีในยุคนี้จะต่อต้านกับดนตรียุคสมัยใหม่ กล่าวง่าย ๆคือดนตรีจะต่อต้านด้านโครงสร้างและรูปแบบในการทำเพลงที่มีมาทั้งหมด แต่จะเน้นไปที่อารมณ์ ความรู้สึก การสัมผัส และถ่ายทอดมันออกมาอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนนั่นเอง อย่างเช่นแนวดนตรีที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้

Post-Rock Music

                ดนตรีแนวโพส-ร็อค มีต้นกำเนิดจากแนว Alternative Rock และ Progessive Rock ลักษณะของดนตรีแนวนี้จะคล้ายกับดนตรีร็อค แต่จังหวะและการเรียบเรียงเพลงนั้นจะต่อต้านกับดนตรีร็อคอย่างสิ้นเชิง เพราะไม่ใช้นักร้องนำ แต่จะใช้เครื่องดนตรี อย่างเช่น กีต้าร์ในการบรรเลงแทน

                 Don Caballero and Tortoise เป็นวงดนตรีวงแรก ๆที่มีการสร้างสรรค์แนวดนตรี โพส-ร็อค ขึ้นมา ในช่วงปีค.ศ.1990 จึงมีการบัญญัติแนวดนตรีนี้ขึ้นและทำให้เกิดวง โพส-ร็อค รุ่นใหม่ตามมา อย่างเช่น

 Explosions In The Sky









สรุปแล้ว ดนตรี Post-Rock เป็นการเปิดกว้างทางดนตรีและสไตล์ของแต่ละวงในการสร้างสรรค์ตัวเพลงออกมาอย่างกว้างๆ และมีการนำปรัชญายุคหลังสมัยใหม่ที่มีความเปิดกว้างมาใช้เป็นชื่อเพลงให้ได้ผู้ฟังสามารถจินตนาการได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

                                                                                                                 http://en.wikipedia.org/wiki/Post-rock

  • สังคมในยุคหลังสมัยใหม่
สังคมหลังยุคสมัยใหม่
ยุคหลังสมัยใหม่กำลังก้าวเข้ามาแทนที่ยุคสมัยใหม่อย่างท้าทาย ด้วยนัยแห่งการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม อาทิ จันทนี เจริญศรี กล่าวไว้ (2544 : 1)

- ลักษณะทางเศรษฐกิจที่ก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจแบบบริโภคนิยมมวลชน (mass consumerism)
ความเป็นยุคทุนนิยมตอนปลาย (late capitalism) ( Bell, 1976)

- ลักษณะการผลิตเป็นแบบหลังอุตสาหกรรม (post-industrial) ความเป็นสังคมข่าวสาร สังคมที่ประกอบขึ้นจากการจำลอง
(simulation) (Bogard ,1992)

- ลักษณะล้ำความจริง (hyperreality) การยุบตัว (implosion) รวมถึงรูปแบบใหม่ทางเทคโนโลยีและวัฒนธรรม เป็นยุคที่สื่ออีเลคโทนิคส์ซึ่งสามารถตัดข้ามผ่านพื้นที่ทางกายภาพจะเข้ามาแทนที่ "ชุมชน" อันจะทำให้แนวคิดเรื่องสังคมจะกลายเป็นเพียงภาพลวงตา (Bogard ,1992)


                                                                                                           

ข้อมูลจาก

        ปล่อยวางเท่านั้นที่จะสามารถอยู่ควบคู่กับโลกในยุคนี้ได้
                                                                                                  โดย Blues Man